หุ่นยนต์

 หุุ่นยนต์





    หุุ่นยนต์ คือเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ หรืออาจมีการตั้งค่าให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจได้เองในระดับใดระดับหนึ่ง การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากหรืออันตรายเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบ งานสำรวจในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ หรืองานสำรวจบนผิวของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ที่ต่างๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการแพทย์ ด้านงานสำรวจทั้งในโลกเราและงานสำรวจในอวกาศ หรือด้านการบันเทิง เช่นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์มากขึ้นเพื่อผลทางจิตวิทยาในการอาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน


    หุ่นยนต์อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน




 


1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 

 













2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนา





                                         


หุ่นยนต์แขนกล


Robot Palletizer


ลักษณะ: 

สำหรับหยิบจับ - วางชิ้นงาน ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ เช่น กระสอบ ถุง กล่อง ลัง เป็นต้น และยังสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริมใน กระบวนการผลิตประเภทเครื่องพันพาเลท เครื่องพิมพ์บาร์โค๊ด และอื่นๆ

กลุ่มอุตสาหกรรม: 

ชิ้นส่วนรถยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า, บรรจุภัณฑ์, ชุดแต่งรถยนต์




Robot Trimming

 

ลักษณะ: 

สำหรับงานตัด เจาะ แต่งขอส่วนเกินพลาสติก, ไฟเบอร์กลาส ด้วยเทคนิค Composite material, Arcylic, ยาง Routing, Uitrasonic blade cut, Waterjet

กลุ่มอุตสาหกรรม: 

ชิ้นส่วนรถยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า, บรรจุภัณฑ์, ชุดแต่งรถยนต์


Robot Handling 

 

ลักษณะ: 

สำหรับไว้คอยหยิบชิ้นงานเข้า - ออก หรือส่งต่อชิ้นงาน ชุดอุปกรณ์หยิบชิ้นงานถูกออกแบบควบคุมการทำงานร่วมกับเครื่องจัก อาทิ เครื่อง Press เครื่อง CNC เครื่องฉีด และหุ่นยนต์



Robot Ultrasonic Welding

 

ลักษณะ: 

สำหรับงานเชื่อมพลาสติกต่อทุกชนิด ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อทำให้ได้รูปร่างตามต้องการ

กลุ่มอุตสาหกรรม: 

อาหารและเครื่องดื่ม, ข้าว แป้ง บรรจุถุง, อาหารสัตว์ และวัสดุก่อสร้าง


Robot CNC Milling

 

ลักษณะ: 

สำหรับแกะสลักงานที่มีความแม่นยำสูง หลักการคล้ายเครื่อง CNC Milling เพื่อขึ้นรูปงานโมเดลต่างๆ โดยสามารถใช้ได้กับวัสดุ โฟม, เรซิ่น, ไม้, ไม้เทียม, พลาสติก, หิน, โลหะ เป็นต้น

กลุ่มอุตสาหกรรม: 

Rapid Protyping, ย่อ - ขยายชิ้นงาน, จำลองชิ้นงาน และสร้างชิ้นงานจากโปรแกรม CAD, CAM



Automation System

 

ลักษณะ: 

การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้เอง การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการทำงานจะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย


หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด



หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่น








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รถ AGV

ประวัติส่วนตัว

ระบบสานพานลำเลียง